|
"ROOM CORRECTION ฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง" โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ มนุษย์เรามีข้อเสียอย่างหนึ่งคือแทนที่จะ..... "ป้องกัน ปัญหา "แต่ต้นมือ กลับไม่สนใจ และคาดหวังไป............ " แก้ปัญหา " เอาที่หลัง ตลอดชีวิตที่อยู่ในวงการเครื่องเสียงและภาพมา กว่า 50 ปี. ผมเจอปัญหามาสารพัด ไม่เคยแม้สักครั้งเดียว ที่ปัญหา ถูกแก้ไข ให้ลุล่วงได้จริง โดยไม่จัดการที่ต้นเหตุ การตามแก้ทั้งหมด มีแต่ไล่ กลบเกลื่อน ปัญหาให้ไปเกิดในที่อื่น รูปแบบอื่น มีของแถมอื่นอันไม่พึงประสงค์ทั้งนั้น " เสียง "..... เป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลง. "ทุกรูปแบบ" ตลอดเวลา (Dynamic) ถ้าตัวมันเอง สร้างปัญหา (เช่นเสียงก้อง) เสียงก้องนั้น ก็จะสัดส่ายแปรผันเปลี่ยนแปลง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ตลอดเวลา จึงเป็นปัญหาที่ไม่เคยอยู่นิ่งได้(Dynamic) จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะแก้ปัญหาแบบส่าย(Dynamic}ด้วยการแก้ที่ตั้งไว้อย่างตายตัว (Static) อย่างพวกตัวปรับเสียง ทุ้ม กลาง แหลมที่เครื่อง หรือที่ ระบบลำโพง หรือ เต็มขั้นอย่างเครื่องปรับแต่งความถี่เสียง ( EQ หรือ Equalizerไม่ว่าแบบอนาลอกหรือดิจิจอล ) ที่ปรับแต่งแล้วก็ต้อง แช่ อยู่ตรงนั้น(Static) ซึ่งจริงๆแล้ว เอาแค่หยาบๆ เร่งเสียง ดัง หรือ ค่อย การกระตุ้นความก้อง การถูกดูดซับเสียง ก็จะต้องต่างกัน ยังไม่นับ ความดังที่ต่างกันไปตลอดเวลาของเสียงนักร้อง หรือของแต่ละชิ้นดนตรี หรือลึกกว่านั้น เสียงที่วิ่งมา ช้า/เร็ว ต่างกัน ( Transient response) สมองส่วนประมวลเสียง ก็จะบอกว่า เสียงที่มาช้ากว่า สวิงอ้อยอิ่งกว่า จะเหมือน" ค่อย" กว่า ทั้งๆ ที่มิเตอรวัดได้ ระดับเสียงมี "ปริมาณ" เท่ากัน ( เรียกว่าผลของ Psychoacoustic ) การนำ EQ มาแก้อคูสติคส์ของห้อง จึงไร้สาระและไม่ได้ผลจริง จริงอยู่เวลาใช้ มันหลอกหูชั่วคราวว่า เหมือนเสียงชัดขึ้นก้องถูกกดกลบไว้ แต่สักพัก จะรู้สึกว่า ความเป็นธรรมชาติ ความน่าฟัง ก็หายไปหมดด้วย. รวมทั้งมิติ เวที ทรวดทรง (3D) , บรรยากาศเสียง บิดเบี้ยวไปหมด ลองย้อนกลับไปอ่านรายงานทดสอบ กล่องดูดคลื่น Perfect Power RT-1 ตอน 3 ในเวบไซด์นี้ ที่พูดถึงการจูน แก้ การติดตั้งชุดเครื่องเสียง ให้ดี ลงตัว ถูกต้องไว้ก่อน จะเข้าใจ เห็นภาพเลยว่า ไม่มีวิธี หรือ เครื่อง ไหนๆในโลก จะแก้ปัญหาเรื่องห้องได้จริงเลย ( ควรอ่านอย่างยิ่งๆ เลยนะครับ จะได้ไม่ถูกฝรั่งโง่ๆ ทำตีเนียนหลอกขายของ) การใช้เครื่องDSP ( Digital Signal Processer ) เพื่อสร้าง ตำแหน่งเสียง เวทีเสียง ก็เช่นกัน อาจเพื่อแก้ปัญหาของการจัดวางลำโพง หรือตำแหน่งนั่งฟังที่ไม่ได้ที่ เช่นเวทีเสียงเอียง หุบ แคบ เตี้ย สิ่งเหล่านี้ผมเล่นมาเกือบ 50 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยเสียงอนาลอก โอเค ถ้าทำดีๆ มันพอกำหนดที่ทางชิ้นดนตรี นักร้อง และบรรยากาศได้น่าตื่นเต้นดี แต่ฟังสักพัก จะรู้ว่า มันซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อ และที่รับไม่ได้ คือ ทรวดทรงนักร้อง นักดนตรี ชิ้นดนตรี หมดความเป็น3D จะออกแบนเป็นโปสเตอร์ แถม สุ้มเสียงเป็นอีเล็คโทรนิกส์ไปหมด ขาดวิญญาณ เหมือน หุ่นยนษ์ ร้อง เล่น ไร้การสอดใส่อารมณ์ แถมเวทีเสียงก็ตื้นเข้ามา บรรยากาศแบบสับสน แตกเป็นส่วนๆ ไม่กลมกลืนเป็น บรรยากาศหนึ่งเดียวกัน (Holographic) จำไว้เรื่องเครื่องเสียง มากชิ้น มากความ น้อยชิ้น ลัดตรง ดีที่สุด ( อย่าลืมอ่านบทความเรื่อง " ชุดขยะ" ทั้ง 2 ตอน ในเวบนี้)
ชุดขยะ (ตอน 1)บางท่านที่รวยจริง มีเครื่องเล่นจานเสียงระดับไฮเอนด์ ราคาแสนกว่าบาทถึง 6 ล้านบาท เครื่องเล่นเทปopen reel 3-5 แสนบาท 3-4 ตัว หัวเข็มร่วม 10 ราคาหัวละ 3-4 หมื่นถึงร่วม2 แสนบาท ปรีหัวเข็ม3 ตัว เครื่องล้างจานเสียง 1-2 ตัว นี่ยังไม่นับพวกเครื่องเสียงโบราณ vintage
ชุดขยะ (ตอน 2)อุปกรณ์ทุกชิ้น ที่เสียบกับไฟบ้านac. ทุกชิ้นจะร่วมอยู่หรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟบ้าน. เดียวกัน จึงล้วนมีผลต่อกระแสไฟและการรบกวนกันเอง แม้ว่า จะไม่ได้เปิดใช้อุปกรณ์ทุกตัว แต่สัญญาณรบกวนในกระแสไฟ ที่มาจากไฟหลวง มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัว(รวมทั้งนอกบ้านเรา)
www.maitreeav.com |